คู่มือการพัฒนา EAI Mail Server บน CentOS 8
เนื้อหา
- 1 EAI Email Server
- 2 การติดตั้ง EAI Email Server
- 2.1 ตั้งค่า hostname
- 2.2 ตั้งค่า firewall
- 2.3 3. สร้าง SSL ของ EAI Email Server บน CentOS 8
- 2.4 4. ติดตั้ง mariadb, postfix, dovecot ของ EAI Email Server บน CentOS 8
- 2.5 5. ตั้งค่า mariadb ของ EAI Email Server บน CentOS 8
- 2.6 6. ตั้งค่า postfix ของ EAI Email Server บน CentOS 8
- 2.7 7. ตั้งค่า dovecot ของ EAI Email Server บน CentOS 8
- 2.8 8. ทดสอบ EAI Email Server บน CentOS 8
- 2.9 9. ติดตั้ง squirrelmail ของ EAI Email Server บน CentOS 8
EAI Email Server
คู่มือนี้ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อทดสอบและเป็นแนวทางการติดตั้ง Email Server ในรูปแบบรองรับภาษาไทย (EAI) โดยใช้ Opensource Software ในการทดสอบเพื่อหาวิธีการที่สามารถใช้งานได้ และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ซึ่งค่า configure ที่ผู้จัดทำใช้นั้น ไม่ได้ตายตัว สามารถลองทดสอบในรูปแบบอื่นๆได้
Software ที่นำมาทดสอบ:
- CentOS8 x86_64 [ISO] [CentOS for VirtualBox]
- VirtualBox [Win] [Mac]
- Filezilla [Win] [Mac]
- putty [Win]
- Postfix 3.x [ดาวน์โหลด]
- Dovecot 2.x [ดาวน์โหลด]
- MariaDB 10.x [ดาวน์โหลด]
- Roundcube 1.4.x [ดาวน์โหลด] [tar]
หมายเหตุ
- คู่มือนี้ไม่ได้อธิบายถึงการติดตั้ง Centos 8
- Postfix ต้องเป็น Version 3.x.x ขึ้นไป จะรองรับ EAI
- หากจะนำไปใช้งานจริงจะต้องจดทะเบียนโดเมน และมี dns server ด้วย
การติดตั้ง EAI Email Server
ตั้งค่า hostname
ตั้งค่า firewall
1. ตรวจสอบสถานะ firewalld service บน mail server
- ต้องมีสถานะ active (running)
# systemctl status firewalld
ตัวอย่าง
Active: active (running) since Mon 2019-11-18 14:12:03 +07; 1h 13min ago
2. ตรวจสอบ firewall zone และ network interface ที่เปิดอยู่
# firewall-cmd --get-active-zones
ตัวอย่าง
public interfaces: ens32
3. ตรวจสอบรายการ services ของ firewall ที่เปิดอยู่ที่ zone public
# firewall-cmd --zone=public --list-services
ตัวอย่าง
cockpit dhcpv6-client ssh
4. เปิด firewall services ที่ zone public ของ mail server (สามารถเปิดเท่าต้องการได้)
# firewall-cmd --permanent --zone=public --add-service=http # firewall-cmd --permanent --zone=public --add-service=https # firewall-cmd --permanent --zone=public --add-service=mysql # firewall-cmd --permanent --zone=public --add-service=smtp # firewall-cmd --permanent --zone=public --add-service=smtps # firewall-cmd --permanent --zone=public --add-service=imap # firewall-cmd --permanent --zone=public --add-service=imaps # firewall-cmd --reload
5. ตรวจสอบรายการ services ของ firewall ที่เปิดอยู่ที่ zone public อีกครั้ง จะพบ services เปิดเพิ่มขึ้นมา
*ref: configure firewall services for mail server (https://spalinux.com/2015/06/centos-7-basic-configure-firewall-by-firewall-cmd)
# firewall-cmd --zone=public --list-services
ตัวอย่าง
cockpit dhcpv6-client http https imap imaps mysql smtp smtps ssh
6. ในตัวอย่างนี้เราแนะนำให้ปิดการทำงานของ SELinux เพื่อความสะดวกในการตั้งค่า (ไม่แนะนำให้ทำกับเครื่อง production)
- เปลี่ยน SELinux=enforcing เป็น SELinux=disabled
# vi /etc/selinux/config
ตัวอย่าง
# This file controls the state of SELinux on the system.
# SELINUX= can take one of these three values:
# enforcing - SELinux security policy is enforced.
# permissive - SELinux prints warnings instead of enforcing.
# disabled - No SELinux policy is loaded.
SELINUX=disabled
# SELINUXTYPE= can take one of these two values:
# targeted - Targeted processes are protected,
# mls - Multi Level Security protection.
SELINUXTYPE=targeted
7. ตรวจสอบสถานะ SELinux อีกครั้ง
- สั่ง restart server และทำการตรวจสอบ
# reboot # sestatus
ตัวอย่าง
disabled